เดินไปเดินมานอนคิดนั่งนึก ว่าลึกๆแล้วต้องมีของดีอยู่
(คิดไม่ออก แต่งต่อไม่ได้แล้ว 555 ) งั้นขอเล่าเป็นร้อยแก้วนะคะ 555
เมื่อนอนคิดนั่งนึกตามบทกลอนข้างต้นแล้วเราจึงไม่รอช้า รีบคว้าคอมพิวเตอร์มาเปิดและลงมือ Search หาแหล่งเรียนรู้ในกรุงเทพมหานครทันที หาไปหามาก็เจอหลายที่แต่ต้องเลือกสักที่ที่โดนใจเรา และแล้วก็เจอจนได้ พิพิธภัณฑ์เก่าแก่ใจกลางเมือง นามว่า "พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด" เลยรีบหากระดาษมาจดข้อมูลและแผนที่ไว้ เมื่อได้ฤกษ์วันที่จะได้ไปเลยชักชวนสหายคู่ใจไปด้วยกัน นั่นคือ มัญชุสร รัตนะ และพรชนก จันพลโท แต่ไม่รู้จะเดินทางไปยังไงดี ไม่รอรีเรียก TAXI ไม่เห็นยาก 555
![]() |
ถึงแล้วววว....... |
![]() |
กับสหายคู่ใจ.....แป้งร่ำ |
เมื่อไปถึงพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 352 - 354 วังสวนผักกาด ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพ ฯ 10400 หาไม่ยากเลยค่ะ สังเกตง่ายๆก็ได้ค่ะ คือ อยู่ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนศรีอยุธยาค่ะ เราได้เดินตรงไปที่ประชาสัมพันธ์ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "ศิลปาคารจุมภฏ - พันธุ์ทิพย์" เพื่อติดต่อซื้อตั๋วเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ โดยเราได้ตั๋วราคาพิเศษ 20 บาท เนื่องจากใส่ชุดนิสิตไป ซึ่งราคาค่าเข้าชมปกตินั้นคนไทย 50 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท และได้แผ่นพับมา 1 แผ่น จึงได้ทราบว่าการเดินทางมาที่พิพิธภัณฑ์นั้นสามารถมาโดยรถประจำทางหรือรถไฟฟ้าบีทีเอสได้
- สายรถประจำทางที่ผ่าน 14 , 17 , 72 , 74 , 77 , 159 , 204 , 536 , 539
- รถไฟฟ้าบีทีเอส ลงที่สถานีพญาไท ทางออกที่ 4
เมื่อซื้อตั๋วเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่ได้เดินมาแนะนำเส้นทางการเดินชมพิพิธภัณฑ์ ฯ ตามแผ่นพับให้เราฟังและให้เราเดินเยี่ยมชมเองได้ตามอัธยาศัย แต่เจ้าหน้าที่ย้ำกับเราว่าไม่ให้ถ่ายรูปภายในห้องจัดแสดงทุกห้อง ให้ถ่ายได้เฉพาะวิวด้านนอกเท่านั้น หลังจากนั้นเราได้พยายามเดินดูรอบๆบริเวณพิพิธภัณฑ์ ฯ เพื่อจะหาว่าสวนผักกาดเขาปลูกกันอยู่ตรงไหน แต่หาแล้วหาอีก หาจนทั่วก็ไม่เจอ เลยลองเปิดแผ่นพับเพื่อไขข้อข้องใจจึงได้ถึงบางอ้อซะทีเกี่ยวกับที่มาของชื่อวัง เดี๋ยวเราจะเล่าให้ฟังนะ ^^
![]() |
หน้าห้องบ้านเชียง |
เมื่อซื้อตั๋วเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่ได้เดินมาแนะนำเส้นทางการเดินชมพิพิธภัณฑ์ ฯ ตามแผ่นพับให้เราฟังและให้เราเดินเยี่ยมชมเองได้ตามอัธยาศัย แต่เจ้าหน้าที่ย้ำกับเราว่าไม่ให้ถ่ายรูปภายในห้องจัดแสดงทุกห้อง ให้ถ่ายได้เฉพาะวิวด้านนอกเท่านั้น หลังจากนั้นเราได้พยายามเดินดูรอบๆบริเวณพิพิธภัณฑ์ ฯ เพื่อจะหาว่าสวนผักกาดเขาปลูกกันอยู่ตรงไหน แต่หาแล้วหาอีก หาจนทั่วก็ไม่เจอ เลยลองเปิดแผ่นพับเพื่อไขข้อข้องใจจึงได้ถึงบางอ้อซะทีเกี่ยวกับที่มาของชื่อวัง เดี๋ยวเราจะเล่าให้ฟังนะ ^^
เรื่องมีอยู่ว่า......
![]() |
ทางเดินเชื่อมไปยังบ้านเรือนไทยแต่ละหลัง |
![]() |
เรือนไทยถูกจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ งามตา ^^ |
![]() |
ตะเกียงน้อย ปะทะ ระฆังน้อย 555 |
![]() |
ระเบียงเรือนไทย |
![]() |
สวยงาม...สะอาดตา |
สาเหตุที่วังแห่งนี้ได้ชื่อว่า "วังสวนผักกาด" เนื่องจากเดิมพื้นที่แห่งนี้
เคยเป็นสวนผักกาดของคนจีนนั่นเองค่ะ ^^
"เสด็จในกรม ฯ" ใช้เรือนไทยที่ได้รับมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษทีอายุมากกว่า 100 ปี เป็นสถานที่รับรองแขกและจัดแสดงของสะสมที่มีความสวยงาม บางชิ้นได้รับเป็นมรดกตกทอดมาจากพระบิดา คือ จอมพลเรือ จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต หรือ ทูลกระหม่อมบริพัตร ฯ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี และบางชิ้นได้สะสมเพิ่มเติมกันมาเป็นลำดับ
ต่อมา "คุณท่าน" เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้ามาเยี่ยมชมบ้านของท่านได้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นบ้านแห่งแรกที่เปิดให้ผู้อื่นเข้าชมบ้านขณะที่เจ้าของบ้านยังใช้เป็นที่พักอาศัยอยู่ โดย "คุณท่าน" เชื่อว่าโบราณวัตถุที่ท่านสะสมไม่ได้เป็นแค่ทรัพย์สินของท่าน แต่ยังถือว่าโบราณวัตถุเหล่านี้เป็นมรดกตกทอดของมนุษยชาติ ท่านจึงไม่ควรเก็บไว้ชมเพียงผู้เดียว ท่านจึงเปิดโอกาสให้ผู้อื่นสามารถเข้ามาชมโบราณวัตถุในบ้านของท่านได้

ทุกวันนี้วังสวนผักกาดยังคงมีลักษณะการจัดแสดงและตกแต่งเหมือนบ้านมากกว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ ปัจจุบันวังสวนผักกาดอยู่ในความดูแลของมูลนิธิจุมภฏ - พันธุ์ทิพย์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่ "คุณท่าน" ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 เพื่อส่งเสริมในด้านการศึกษาและการอนุรักษ์ด้านศิลปะวัฒนธรรม
รู้ประวัติวังสวนผักกาดกันคร่าวๆแล้ว คราวนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าในวังสวนผักกาดแห่งนี้มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง ตามมาเลย...... ^^
ห้องบ้านเชียง


ห้องแรกที่เข้าไปชม คือ "ห้องบ้านเชียง"
ตั้งอยู่บริเวณชั้น 2 ของศิลปาคารจุมภฏ - พัธุ์ทิพย์ โดยจัดแสดงโบราณวัตถุในวัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุประมาณ 1,800 - 5,600 ปีมาแล้ว เช่น ภาชนะดินเผาลายเขียนสี อาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากสำริด หินสีที่มีค่าต่างๆ ลูกปัดแก้วที่ใช้ทำเครื่องประดับ
เมื่อชมห้องบ้านเชียงเสร็จแล้ว เราได้เดินลงมาชั้นล่างเพื่อไปชมสิ่งที่อยู่ในรูปด้านล่างนี้แหละ
นั่นคือ............
เรือพระที่นั่งเก้ากึ่งพยาม
"เรือพระที่นั่งเก้ากึ่งพยาม" ซึ่งเป็นเรือที่พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ทูลกระหม่อมบริพัตร ฯ ซึ่งเป็นพระบิดาของเสด็จในกรม ฯ เจ้าของวัง เพื่อใช้เป็นกระบวนเรือตามเสด็จประพาสต้น ตัวเรือทำด้วยไม้ตะเคียนทอง ส่วนเก๋งเรือและหลังคาทำด้วยไม้สักทอง
ถัดมาเราได้ขึ้นไปชม "หอเขียน" ซึ่งอยู่ติดกับเรือพระที่นั่ง ฯ เลย
หอเขียน

"หอเขียน" แห่งนี้ถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติที่ยังคงหลงเหลือไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป ภายในหอเขียนประกอบไปด้วย ภาพลายรดน้ำ 2 เรื่องหลักๆ ได้แก่ เรื่องพุทธประวัติและเรื่องรามเกียรติ์
![]() |
แม่นางทั้ง 2 แห่งเรื่องนางทาส 555 |
หลังจากลงมาจากหอเขียนแล้ว ต่อจากนั้นเราได้ไปเยี่ยมชมเรือนไทย ซึ้งมีทั้งหมด 8 หลัง แต่ละหลังจะมีทางเดินเชื่อมต่อถึงกันได้ และเรือนไทยแต่ละหลังนับตั้งแต่หลังที่ 2 ไปจนถึงหลังที่ 7 จะไม่มีทางลงให้ ต้องเดินชมไปเรื่อยๆจนถึงหลังที่ิ 8 จึงจะมีทางลงให้ ^^ เราไปเริ่มเยี่ยมชมเรือนไทยหลังที่ 1 กันก่อนดีกว่า ตามมาเลย.....
เรือนไทยหลังที่ 1


เรือนไทยหลังที่ 1 : ชั้นล่างของเรือนไทยหลังที่ 1 เป็นห้องดนตรีทูลกระหม่อมบริพัตร ฯ ซึ่งจัดแสดงเครื่องดนตรีไทยในทูลกระหม่อมบริพัตร ฯ เมื่อเดินเข้าไปเยี่ยมชมด้านในจะมีเพลงบรรเลงดนตรีไทยเปิดคลอเบาๆ เข้าไปทีแรกตกใจอยู่เหมือนกัน 555 เครื่องดนตรีที่จัดแสดงมีมากมาย เช่น กลองโบราณขนาดใหญ่ ระนาด ฆ้อง ซอสามสาย เป็นต้น ชั้นบนของเรืองไทยจัดแสดงโบราณวัตถุในยุคต่างๆของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พระพุทธรูป เทวรูป พระอุมา ซึ่งมีความงดงามมาก
![]() |
สบายๆ.......เบาๆ ^^ |
หลังจากเยี่ยมชมเรือนไทยหลังที่ 1 เสร็จ เราได้เดินตามทางเดินเชื่อมมาที่เรือนไทยหลังที่ 2 และหลังต่อๆไปเรื่อยมา
เรือนไทยหลังที่ 2
เรือนไทยหลังที่ 2 : ชั้นล่างของเรือนไทยหลังนี้จัดแสดงหิน เปลือกหอยและแร่ที่มีค่าและมีความสวยงามมากที่ "คุณท่าน" ได้เก็บสะสมไว้ "คุณท่าน" ได้ตั้งชื่อห้องนี้ว่า ถ้ำอาลีบาบา ส่วนชั้นบนนั้นจัดแสดงของสะสมที่สวยงามเช่นกัน เช่น สัปคัปหรือกูบสำหรับนั่งบนหลังช้าง ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ เครื่องเรือนต่างๆรวมถึงของใช้ส่วนพระองค์ เช่น ตลับงาช้าง ขวดน้ำหอมจากต่างประเทศ นอกจากนี้บริเวณฝาผนังด้านนอกห้องยังจัดแสดงตาลปัตรในราชสกุลบริพัตรอีกด้วย
เรือนไทยหลังที่ 3

เรือนไทยหลังที่ 3 : เรือนไทยหลังนี้จัดแสดงเพียงแค่ด้านบนเท่านั้น โดยได้จัดแสดงเครื่องถ้วยเบญจรงค์ที่มีการเขียนลวดลายลงยาด้วยสีจำนวน 5 สีซึ่งสวยงามมาก และยังมีเครื่องถมเงินถมทอง อีกทั้งยังมีเสลี่ยง คานหาบและฉัตรสำหรับให้เจ้านายชั้นสูงใช้เท่านั้น
เรือนไทยหลังที่ 4

เรือนไทยหลังที่ 4 : ในอดีตเคยใช้เป็นพื้นที่สำหรับต้อนรับและรับประทานอาหารค่ำ พื้นที่ภายในห้องเป็นห้องพระซึ่งประกอบด้วยพระพุทธรูปสมัยต่างๆของไทย ภาพพระบฏ ผนังด้านนอกห้องจัดแสดงบานประตูฝังมุก หน้าห้องพระมีหนังสือพระธรรมใบลาน
เรือนไทยหลังที่ 5

เรือนไทยหลังที่ 5 : ชั้นบนจัดแสดงเครื่องแก้วลายทอง เครื่องเงิน โบราณวัตถุวัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ส่วนด้านล่างของเรือนจัดแสดงหินและแร่ รวมถึงหอยและฟอสซิลปลา
เรือนไทยหลังที่ 6
![]() |
หัวโขน พระราม |
![]() |
หัวโขน ทศกัณฑ์ |
เรือนไทยหลังที่ 6 : เรือนไทยหลังนี้ เรียกว่า "พิพิธภัณฑ์โขน" ภายในจัดแสดงชฎา หุ่นละครเล็ก และหัวโขนขนาดเท่าของจริงซึ่งมีเพียงตัวละครหลักเท่านั้น ส่วนด้านล่างของเรือนจัดแสดงตุ๊กตาดินเหนียวเรื่องรามเกียรติ์ตอนต่างๆและกองทัพตุ๊กตา ตอน ศึกกุมภกรรณ
เรือนไทยหลังที่ 7

เรือนไทยหลังที่ 7 : เรือนหลังนี้จัดแสดงเครื่องชามสังคโลกสมัยสุโขทัย เครื่องถ้วยจีน เครื่องเคลือบสีเขียว ศิลปะพม่า และตุ๊กตาเสียกบาล ด้านนอกเรือนไทยจัดแสดงเครื่องมือหินและเครื่องปั้นดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาต่างๆทางภาคเหนือ
![]() |
บรรยากาศดี๊ ดี ^^ |
และแล้วก็เดินมาถึงเรือนไทยหลังสุดท้าย (ที่เราจะได้ลงจากเรือนได้สักที 555)
เรือนไทยหลังที่ 8
เรือนไทยหลังที่ 8 : เรือนไทยหลังนี้จัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ทั้งที่เป็นเครื่องแก้วลายทอง เครื่องแก้วคริสตัล เครื่องเงินและเครื่องลายคราม และยังมีแจกันรูปผักกาดที่เป็นสัญลักษณ์ของวังสวนผักกาดแห่งนี้ซึ่งมีความสวยงามมาก แต่น่าเสียดายที่เจ้าหน้าที่ไม่ให้ถ่ายรูป เลยอดได้ภาพสวยๆมาฝากเลย >< เอาไว้ให้ลองไปเยี่ยมชมกันเองดีกว่านะคะ รับรองว่าคุ้มค่าแน่นอนค่ะ ^^
ลักษณะการจัดแสดง
ลักษณะการจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ ฯแห่งนี้ เป็นการนำสิ่งของที่จัดแสดงใส่ไว้ในตู้กระจกและเปิดไฟสลัวๆให้พอมองเห็นได้ ด้านนอกตู้กระจกแต่ละตู้มีแผ่นป้ายเล็กๆเขียนอธิบายชื่อของสิ่งของนั้นๆ บางชิ้นจะเขียนบอกที่มาด้วยว่าได้มาจากไหน มีทั้งการเขียนอธิบายเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และของทุกชิ้นที่จัดแสดงห้ามผู้เยี่ยมชมแตะ/จับ/สัมผัสหรือทดลองตีในกรณีที่เป็นเครื่องดนตรีเป็นอันขาดเพราะอาจทำให้สิ่งของนั้นชำรุดเสียหายได้การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
แหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ดังนี้
-วิชาสังคมศึกษา แบ่งเป็นเนื้อหาประวัติศาสตร์ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับวัตถุโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์จากเรือนไทยแต่ละหลัง และเนื้อหาเรื่องศาสนา ซึ่งเรียนรู้ได้จากหอเขียนที่มีการเขียนภาพลายรดน้ำเกี่ยวกับพุทธประวัติ และจากเรือนไทยหลังที่ 2 ที่มีการจัดแสดงตาลปัตรและตู้พระไตรปิฎก เหมาะสำหรับชั้นมัธยมศึกษา
-วิชาวิทยาศาสตร์ โดยเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับธรณีวิทยา เรียนรู้ได้จากเรือนไทยหลังที่ 2 และหลังที่ 5 ที่มีการจัดแสดงหิน เปลือกหอย ฟอสซิลและแร่ที่มีคุณค่า
-วิชาดนตรี เรียนรู้ได้จากเรือนไทยหลังที่ 1 ชั้นล่างที่จัดแสดงเครื่องดนตรีไทยไว้อย่างหลากหลาย
-วิชาศิลปะ เรียนรู้ได้จากเรือนไทยเกือบทุกหลัง เพราะทุกหลังจะแฝงความเป็นศิลปะไว้อย่างลงตัวและสวยงามมาก เช่น รูปปั้นเทวรูป พระพุทธรูป พระอุมา เป็นต้น
End Pictures
บริเวณรอบๆพิพิธภัณฑ์ ฯ นั้นขอบอกว่าร่มรื่นและสะอาดมาก เห็นแล้วน่านอนเล่น จะบอกว่าเราแอบง่วงด้วยนะตอนเดินชม 555 แล้วก็รู้สึกว่าเหมือนได้หลุดเดินเข้าไปในเรื่องนางทาส 555 หรือว่าละครแนวชีวิตคนสมัยก่อนเพราะบรรยากาศ.......ได้อยู่นะ 555

ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้ คือ หนังสือเล่มหนึ่งที่ทั้งใหญ่และหนามาก
ถ้าแรกพบหนังสือเล่มนี้แล้วมีความคิดที่ว่า ไม่อยากเปิดอ่านเลย หรือท้อใจว่าคงอ่านไม่จบแน่เลย
คุณก็จะไม่เห็นอะไรดีๆที่ซ่อนอยู่ในหนังสือเล่มนี้
แต่ถ้าคุณเปิดอ่านมัน ค่อยๆอ่านทีละหน้าอย่างสบายๆ ไม่ต้องรีบร้อน
คุณก็จะได้พบอะไรใหม่ๆที่คุณอาจจะยังไม่เคยเห็นมาก่อนก็ได้นะ
^^ ลองเปิดใจ และเปิดอ่านดูนะคะ ^^
ถ้าแรกพบหนังสือเล่มนี้แล้วมีความคิดที่ว่า ไม่อยากเปิดอ่านเลย หรือท้อใจว่าคงอ่านไม่จบแน่เลย
คุณก็จะไม่เห็นอะไรดีๆที่ซ่อนอยู่ในหนังสือเล่มนี้
แต่ถ้าคุณเปิดอ่านมัน ค่อยๆอ่านทีละหน้าอย่างสบายๆ ไม่ต้องรีบร้อน
คุณก็จะได้พบอะไรใหม่ๆที่คุณอาจจะยังไม่เคยเห็นมาก่อนก็ได้นะ
^^ ลองเปิดใจ และเปิดอ่านดูนะคะ ^^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น